ตอบคำถาม! เสริมหน้าอก เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมไหม? ฉบับคุณหมอตอบเอง

การเสริมอึ๋มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความเซ็กซี่และความมั่นใจให้กับสาวๆ ได้ทั้งสาว First Bra สาวแท้ สาวเทียมเลยค่า รวมถึงคนที่ต้องการอัพไซส์หน้าอกเพราะอาชีพด้วยน้า แน่นอนว่า การศัลยกรรมเสริมหน้าอก หลายคนจะกังวลว่า เป็นการนำสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านมขึ้นได้ไหม? วันนี้ Nana Clinic เราก็จะมาไขข้อข้องใจให้สาวๆ ด้วยการตอบคำถาม! เสริมหน้าอก เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมไหม? ซึ่งเป็นฉบับคุณหมออ๋อง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์กว่า 16 ปีของเรามาตอบเองค่ะ รับรองว่าช่วยลดความกังวลและเพิ่มความมั่นใจให้กับสาวๆ ได้แน่ ถ้าพร้อมแล้ว ตามมาที่คำถามแรกพร้อมกันเลยดีกว่า

  • เสริมหน้าอก เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมไหม?

การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนยังไม่พบว่าเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งเต้านม ดังนั้นก่อนที่จะทำศัลยกรรมเสริมหน้าอกให้คนไข้ คุณหมอจะแนะนำให้คนไข้ตรวจมะเร็งด้วยการ Ultrasound หรือ MRI เพื่อความปลอดภัยก่อน เพื่อลดอันตรายจากการติดเชื้อหลังผ่าตัดเสริมหน้าอกค่ะ

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เป็นข่าวคือ ชนิด Breast Implant Associated – Anaplastic Large Cell Lymphoma (BIA-ALCL) ค่ะ มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก เพียง 0.0003% เท่านั้น ซึ่งมักจะเกิดกับการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนที่เป็นผิวทราย โดยเจ้ามะเร็งชนิดนี้จะเกิดบริเวณต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่รอบๆ ถุงซิลิโคน หากตรวจพบเร็วก็มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะรักษาให้หายได้จ้ามีข่าวว่า “เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน” ทำให้เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจริงไหม?
  • ทำไมซิลิโคนผิวทราย ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง?

การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวทรายจะมีผิวหยาบขรุขระ มีข้อดีในการลดการเกิดพังผืดและการเคลื่อนที่ผิดรูปของซิลิโคน แต่ในความหยาบขรุขระของพื้นผิวซิลิโคน ก็ง่ายต่อการที่จะมีเชื้อโรคมาเกาะสะสมได้มาก ซึ่งทำให้ร่างกายต้องสร้างเม็ดเลือดขาวมากำจัดเชื้อโรคจนเกิดน้ำเหลืองรอบๆ ถุงซิลิโคน พอนานเข้าเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นก็จะกลายเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเสียเอง นอกจากนี้มะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง และความผิดปกติของยีนส์พันธุกรรมด้วยค่ะ

  • สังเกตุอาการได้อย่างไร?

เราสามารถสังเกตอาการได้จากหน้าอกจะบวมโตขึ้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ซึ่งอาจจะมีอาการปวด เป็นไข้และมีผื่นขี้นที่หน้าอก ต่อมน้ำเหลืองแถวรักแร้โตขึ้น มีก้อนแข็งที่เต้านม หากคนไข้พบอาการเหล่านี้ควรรีบพบแพทย์ทันทีค่ะ สำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง BIA-ALCL ชนิดนี้จะต้องใช้วิธีการตรวจเช็คด้วย Ultrasound / MRI ค่ะ

  • หากเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง BIA-ALCL มีวิธีการรักษาอย่างไร?

หากมีการตรวจพบเชื้อมะเร็งชนิดนี้ คุณหมอจะเช็คถึงการแพร่กระจายว่าไปมากน้อยแค่ไหน สำหรับวิธีการรักษา จะทำโดยการผ่าตัดเอาซิลิโคนออก พร้อมเลาะเอาพังผืด (Capsule)     ที่ล้อมรอบถุงซิลิโคนออกทั้งหมด หลังจากนั้นคุณหมอก็จะตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ หากมีการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งก็จะต้องมีการทำเคมีบำบัดร่วมด้วยค่ะ

  • การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวเรียบ ตอนนี้ยังไม่พบว่าจะเกิดความเสี่ยงกับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด BIA-ALCL ค่ะ
    การเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนผิวเรียบมีความเสี่ยงกับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเหมือนกันไหม?

แม้โอกาสเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (BIA-ALCL) จากการเสริมหน้าอกจะมีน้อยมาก      แต่เราก็เชื่อว่า สาวๆ ก็อยากเสริมอึ๋มออกมาแล้วปัง สวยเป็นธรรมชาติอย่างปลอดภัย ดังนั้น    การเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแล เครื่องมือเครื่องใช้ทันสมัยก็จะทำให้คุณมั่นใจมากขึ้นไปด้วย ซึ่ง Nana Clinic ของเรามีพร้อม! ช่วยคุณวาดฝันให้เราปั้นสวยได้อย่างวางใจเลยละค่ะ

Please follow and like us:
Pin Share
ตอบคำถาม! เสริมหน้าอก เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมไหม? ฉบับคุณหมอตอบเอง